ประเภทของชา เทคนิคการดื่มแบบโปร

อยากเติมพลังจากงานเหนื่อยๆ อีกวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะผ่อนคลายหนีไม่พ้นการจิบชาดีๆ ซักแก้ว มาทำความรู้จักกับทุกความลับของชาที่จะทำให้คุณดื่มชาได้อร่อยยิ่งขึ้น

 

ชาไม่หมัก (green tea non-fermented tea) เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก โดยนำยอดชาสดมาอบด้วยไอน้ำหรือการคั่วบนกระทะร้อน จากนั้นทำให้แห้ง จึงทำให้ใบชายังคงสีเขียว สีของน้ำชาประเภทนี้จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง คงคุณประโยชน์อยู่มาก โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin Gallate (EGCG) ที่มีคุณสมบัติกำจัดสารพิษ ต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันรอยเหี่ยวย่น ด้วยคุณประโยชน์นานาประการจึงเหมาะนำไปผลิตชาคุณภาพดี ได้แก่ ชาพระจันทร์ยิ้ม

 

ชากึ่งหมัก (oolong tea semi-fermented tea) เป็นชาที่มีการหมักใบชาระหว่างกระบวนการผลิตเพียงบางส่วน โดยเพิ่มการนำยอดชามาผึ่งแดด 20 – 40 นาที ทำให้อุณหภูมิในยอดชาสูงขึ้น แล้วนำไปผึ่งในร่มอีกครั้งพร้อมเขย่ากระตุ้นยอดชาให้ตื่นตัว ความแก่ของการหมักขึ้นกับระยะเวลาการผึ่งและเขย่ากระตุ้น ชาประเภทนี้รสชาติน้ำชาเข้มข้นและมีกลิ่นหอม น้ำชามีสีน้ำตาลอมเขียว น้ำตาลอมเหลือง นิยมดื่มกันมากในประเทศจีนตอนกลางแถบมณฑลฝูเจี๋ยน กวางตุ้ง ไต้หวัน เมื่อดื่มชาชนิดนี้จะให้รสฝาดและขมเล็กน้อย

 

ชาหมัก (black tea fully-fermented tea) เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบรูณ์ จะใช้กระบวนการหมักโดยแบคทีเรียเหมือนการเพาะบ่มไวน์ เป็นชาที่นิยมดื่มแถบยุโรปนิยมเรียกว่า ชาฝรั่ง/ชาดำ ตามลักษณะใบชาแห้งและรสชาติเข้มข้นมาก ส่วนสีจะออกแดงน้ำตาลไปจนถึงดํา กระบวนการหมักก่อให้เกิดปริมาณของคาเฟอีนสูงมาก จุลินทรีย์และยีสต์สายพันธุ์ดี ซึ่งดีต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย แต่ไม่ควรดื่มในปริมาณมากหรือติดต่อกันนานจนเกินไป

การเด็ดใบชา

เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากต้องอาศัยความละเอียดในการเก็บ การเก็บใบชาต้องใช้แรงงานคนในการเก็บจึงจะได้ยอดใบชาที่มีคุณภาพดี ในการเด็ดใบชาแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่

  • Super Fine Plucking การเก็บชาเฉพาะยอดอ่อนที่ยังไม่ผลิออกมาเป็นใบ หรือ 2 ใบบนเท่านั้น ซึ่งเป็นการคัดเลือกใบชาที่มีคุณภาพที่สุด โดยมักจะนำมาผลิตเป็นชาขาว
  • Fine Plucking การเลือกเก็บใบชาเฉพาะ 3 ใบบน มักจะนำมาผลิตเป็นชาดำและชาเขียวคุณภาพสูง
  • Medium Plucking การเก็บใบชาที่ได้คุณภาพรองลงมา โดยจะเด็ดบริเวณใต้ใบที่ 4

 

     ชาพระจันทร์ยิ้ม จัดอยู่กรรมวิธีการผลิตแบบชาเขียว ไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก โดยเก็บใบชาสดเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความละเอียดและการใส่ใจ จึงต้องใช้แรงงานคน เพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพ เริ่มต้นจากการนำใบชาอบด้วยไอน้ำหรือการคั่วบนกระทะร้อน เพื่อป้องกันปฏิกิริยาออกไซด์ และทำให้แห้งครั้งสุดท้าย ด้วยวิธีการดังกล่าวจากกระบวนการผลิตที่น้อยขั้นตอน ทำให้ยังคงสารโพลีฟีนอล (EGCG หรือ คาเทชิน) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มาก สูงที่สุดกว่าการผลิตชาประเภทอื่นๆ นั่นเอง จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว กลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์คนละแบบ แตกต่างจากชาทั่วไปตามท้องตลาด

     ชาพระจันทร์ยิ้มทำจากใบชาอัสสัม (Assam Tea) ด้วยรสชาติที่นุ่ม คาเฟอีนค่อนข้างน้อย ขึ้นชื่อว่าเป็นชาที่มีรสชาติคลาสสิค เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้ชาชนิดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังและมีการนำพันธุ์ชาอัสสัมออกไปปลูกตามที่ต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะใบชามีประโยชน์มากมาย เช่น ต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันตับจากสารพิษ รวมทั้งมีงานวิจัยรับรองในเรื่องลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด

เชื่อว่า.. คนรักชา ถ้าได้อ่านบทความนี้แล้ว หลายคนเริ่มจะสนใจอยากชิมชาพระจันทร์ยิ้มกันอย่างแน่นอน!

Visitors: 38,884