รู้หรือไม่? หนึ่งในสามของผู้สูงอายุทรมานจากการท้องผูก

หนึ่งในปัญหาหนักอกเมื่อสูงอายุ ถ้าไม่ใช่เรื่องการกิน ก็หนีไม่พ้นเรื่องการขับถ่าย มีข้อมูลงานสำรวจประชาการที่น่าสนใจว่า ภาวะการท้องผูกเริ่มพบได้บ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่วัย 60 ปีขึ้นไป โดยผู้หญิงมักจะมีปัญหาท้องผูกมากกว่าผู้ชาย ภาวะท้องผูกยังพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

จึงไม่น่าแปลกใจว่า เรื่องท้องไส้เป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุมาปรึกษาคุณหมอบ่อยๆ ท้องผูกเรื้อรังไม่เพียงแต่ทำให้ไม่สบายตัว เกิดความเครียดแล้ว ยังทำให้เกิดริดสีดวงทวาร เลือดออกในลำไส้ใหญ่ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

 

5 สาเหตุท้องผูกในผู้สูงอายุ

  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
    เมื่ออายุเข้าสู่วัย 60 ปี ร่างกายรวมทั้งระบบการย่อยทำงานเสื่อมถอยและไม่เป็นปกติ การบีบตัวของลำไส้น้อยลง การย่อยและดูดซึมไม่สมบูรณ์ทำให้มีของเสียตกค้างมาก และเมื่อขับถ่ายน้อยของเสียยิ่งค้างในลำไส้นาน น้ำจะถูกดูดกลับ ทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ยิ่งทำให้ขับถ่ายยาก

  • การกินอาหาร
    กากใยทั้งจากพืชและผลไม้ทำงานร่วมกันในการช่วยกระตุ้นให้ขับถ่าย รวมทั้งให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ เพราะเคี้ยวลำบากเจ็บฟันและเหงือก บางคนกินผักผลไม้แล้วท้องอืด อึดอัด ทั้งยังมีพฤติกรรมดื่มน้ำน้อยเพราะหลีกเลี่ยงการเข้าห้องน้ำ เนื่องจากลำบากที่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ นี่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้

  • การเสียสมดุลในลำไส้ใหญ่
    เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวินะยาปฏิชีวนะไม่เพียงกำจัดเชื้อโรคเท่านั้น แต่ยังทำลายโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ตายด้วย โพรไบโอติกส์มีความสำคัญต่อการรักษาความแข็งแรงของลำไส้ใหญ่และกระตุ้นการขับถ่าย ผู้สูงอายุที่ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน มักสูญเสียโพรไบโอติกส์ ลำไส้จึงเสียสมดุล ทำให้ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในผู้สูงอายุเสมอๆ

  • การเคลื่อนไหวน้อย
    การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว และเป็นการกระตุ้นการขับถ่าย ดังนั้นผู้สูงอายุที่ชีวิตประจำวัน นั่ง นอนนานๆ มักจะท้องผูกมากกว่าผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเป็นประจำ

  • ผลข้างเคียงของยา
    ยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ชนิดสเตียรอยด์ ยาลดความดันบางชนิด ยาลดกรด อลูมินัมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต

 

ท้องผูกแก้ได้ วิธีแก้ไขเบื้องต้น

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ :

ผู้สูงอายุมักเลี่ยงไม่ค่อยดื่มน้ำ อาจเพราะเข้าห้องน้ำเองไม่สะดวก จึงคิดเอาเองว่ากินน้ำให้น้อยลง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกาย การถ่ายยากหรือท้องผูก เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ

 

2. กินใยอาหารให้เพียงพอ :

ใยอาหารมีหลากหลาย แต่ใยอาหารชนิดละลายน้ำเป็นชนิดที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี เพราะอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เคลื่อนตัวได้ง่าย ใยอาหารจากผลไม้ เช่น ลูกพรุน แอบเปิ้ล กล้วย ส้ม ข้าวโอ๊ต ถั่ว

 

3. ออกกำลังกายให้เพียงพอ :

การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน วิ่งเหยาะ รำมวยจีน ไทชิ หรือทำกิจกรรมเช่นทำความสะอาดบ้าน ทำสวนก็ได้ ประมาณ 30-60 นาที ต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ นอกจากจะช่วยให้ระบบการย่อย การเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นไปอย่างปกติแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงอีกด้วย

 

ไม่ใช่แค่ระบบขับถ่าย แต่ดูแลสุขภาพให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพ เริ่มต้นดูแลตั้งแต่วันนี้

ไม่ใช่แค่เรื่องระบบขับถ่าย แต่เมื่ออายุมากขึ้นคนส่วนใหญ่มักกินอาหารได้น้อยลงหรือกินอาหารซ้ำๆ ไม่หลากหลาย อาจทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งการขาดสารอาหารสะสมนั้นในระยะสั้นอาจจะไม่ทันสังเกตเห็นอาการ แต่ในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น อ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวลำบากขึ้น ทั้งที่จริงแล้วหากดูแลแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้แข็งแรงอย่างที่ในวัยนั้นควรจะเป็นไม่ปล่อยให้ทรุดโทรมกว่าวัย

จึงมีแนวคิดจากความรู้โภชนาการสมัยใหม่ เป็นเคล็ดลับในการดูแลให้ครบ 6 เหลี่ยมสุขภาพให้แข็งแรงสมวัยดังนี้ค่ะ

เริ่มดูแลสุขภาพแบบถูกหลักโภชนาการตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เรามีช่วงแห่งความสุขกับคนที่คุณรักในครอบครัวไปอีกนานๆ
ในการดูแลสุขภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ง่ายเลยที่จะทานอาหารให้ครบทั้ง 6 เหลี่ยมสุขภาพ ทางทีมงานพระจันทร์ยิ้ม ขอแนะนำตัวช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงวัยให้แข็งแรงสมวัย ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข ซึ่งผู้สูงวัยควรดูแลด้วยการดื่มเป็นประจำทุกวัน

ชาพระจันทร์ยิ้ม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขับล้างสารพิษในร่างกายทั้งระบบ ปรับสมดุล ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดภาระการทำงานของไต เพราะขับของเสียสะสมในเลือด ตลอดจนขับพิษที่อยู่ในเลือด

เพิ่มเพื่อน
Visitors: 38,850