การปลูกชา “อัสสัม” เมืองโคราช อยู่กับป่าสร้างรายได้ทั้งชุมชน

 

แหล่งปลูกชาที่ดีที่สุดของนครราชสีมา ที่นี่อากาศดี แดดดี ดินดี ผลิตชาชั้นดี ด้วยความรู้ ความชำนาญที่ตกทอดกันมาหลายสิบปี

ใบชาอัสสัมในระแวกนี้ ภาษาถิ่นเรียกว่า ใบกระทาเกลือ ชาวบ้านกินทั้งหมู่บ้าน เด็ดยอดใบอ่อนมาจิ้มน้ำพริกกินเป็นอาหารอยู่แล้ว และได้รับการสนับสนุนจากคุณจุไรรัตน์ จังหวัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ให้เป็นผลผลิตหลัก สร้างรายได้อย่างดีให้กับชุมชนและเกษตกร ปัจจุบันถูกขนานนามว่า เป็นแหล่งของการปลูก ใบชาอัสสัม ชาพระจันทร์ยิ้มที่ผลิตล้วนมาจากที่นี่

ทุ่งอัสสัมธรรมชาติ แดดดี ดินดี

ชาวไร่เก็บชาได้คุณภาพสูง ด้วยความละเอียดและการใส่ใจ

ลักษณะดอก (1) ยอดชา (2) ใบชา (3)

 

ภูมิศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนที่ราบสูงโคราช เป็นบริเวณตอนกลางของจังหวัดมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-250 เมตร

ลักษณะธรณีวิทยา ปลายยุคครีเทเชียส (ประมาณ 100-65 ล้านปี) ผลจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและแผ่นยูเรเชีย ทำให้แอ่งโคราชเอียงเทจนน้ำทะเลไหลทะลักเข้ามา เกิดการตกตะกอนของเกลือจากทะเล หินตะกอนที่สะสมตัวในทะเลบรรพกาล ในอดีตพื้นที่บางส่วนก็เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ จัดเป็นแหล่งดินที่เกิดจากการสะสมในบริเวณทางน้ำเก่า บางช่วงเกิดการสะสมตัวของเกลือจากน้ำทะเล (แอ่งเกลือ) และหินดินดานแทรกชั้นดินแร่ธาตุมากมาย เป็นปุ๋ยชั้นดี แต่เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด เมืองเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว พื้นที่เกษตรกรรมถูกรุกราน ยกเว้นที่อำเภอขามทะเลสอ ที่ชาวไร่ชาช่วยกันรักษาไว้เป็นอย่างดี

  • เกลือหิน
  • ธาตุโพแทช
  • โดโลไมต์
  • ฟอสเฟต

 

ชาวไร่ชาที่นี่รวมตัวช่วยกันดูแลรักษาทุ่งชาธรรมชาติ ทุ่งชาอัสสัมถูกปลูกและปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ หญ้าจะถูกตัดและปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยม

ชาวไร่เชื่อว่า.. กลิ่นและรสชาติของชาอัสสัมที่นี่กลมกล่อม เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะได้สืบทอดขบวนการเพาะปลูกที่ให้ธรรมชาติบ่มเพาะ บำรุงตัวเองอย่างเหมาะสม ทำให้เชื่อมั่นว่า ชาอัสสัมของที่นี่ คุณภาพดี ดื่มแล้วมีความสุข

กรรมวิธีการผลิตแบบชาเขียว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว

คาเฟอีนค่อนข้างน้อย มีรสชาติคลาสสิคเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Visitors: 38,882